วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นำร่อง 7 จังหวัดแบนแร่ใยหิน หลังสคบ.ประกาศสินค้าอันตราย

---------------------
โปรย : ชวน 76 จ.เดินหน้าตรวจสอบการจัดทำฉลากสินค้าที่มีส่วนประกอบแร่ใยหินของผู้ประกอบธุรกิจ และรายงานผลการดำเนินงานให้ สคบ.ทราบ หลังประกาศสินค้าอันตราย
---------------------
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการควบคุมสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน และมาตรการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมทั้งลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการควบคุมแร่ใยหิน โดยมีเหตุผล 10 ประการที่ต้องจัดการอันตรายจากแร่ใยหินแอสเบสตอส คือ
‎ 1. แอสเบสตอสเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ที่ยอมรับกันทั่วไป 2.ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นสองประเทศอุตสาหกรรมสุดท้ายที่ไม่มีการห้ามใช้แอสเบสตอส ในขณะที่มากกว่าห้าสิบประเทศได้มีการสั่งห้ามใช้แอสเบสตอสแล้ว เมื่อเดือนมกราคม 2010 3. องค์การอนามัยโลก ระบุว่ามีประชากรทั่วโลกประมาณ 125 ล้านคนที่ได้รับสัมผัสแร่ใยหินจากการทำงาน 4. ในแต่ละปี ชาวอเมริกันมากกว่า 1 หมื่นคนตายเนื่องจากการได้สัมผัสแร่ใยหิน และจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และคาดประมาณได้ว่าในศตวรรษหน้า การสัมผัสแร่ใยหินจะคร่าชีวิตเฉพาะชาวอเมริกันได้สูงถึง 1 แสนคน 5. เมื่ออยู่ในสภาพอานุภาคขนาดเล็ก(ต่ำกว่า10ไมครอนซึ่งสามารถก่อโรคได้) อานุภาคขนาดเล็กของแร่ใยหิน สามารถล่องลอยไปไกลห่างจากแหล่งกำเนิดได้เป็นหลายร้อยไมล์ 6. การได้รับสัมผัสแร่ใยหินโดยการหายใจ(อานุภาคขนาดเล็ก) หรือการกลืนกินเข้าไป(จากการปนเปื้อนในอาหาร) จะก่อให้เกิดพยาธิสภาพแบบถาวร(รักษาไม่ได้)กับอวัยวะที่สำคัญ แร่ใยหินก่อให้เกิดโรคปอดจากแร่ใยหิน (ชื่อเฉพาะAsbestosis) มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ และมะเร็งที่มีการลุกลามรุนแรง (ชื่อเฉพาะ Mesothelioma) ผู้ป่วยจะมีอายุต่อไปได้ราว 6-12 เดือน
7. แร่ใยหินยังคงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การทดสอบโดยองค์การให้ความรู้เกี่ยวกับแร่ใยหิน (ADAO) พบว่า ยังมีผลิตภัณฑ์ 5 ชนิดที่ยังมีการปนเปื้อนของแร่ใยหิน ในจำนวนนี้มีผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กรวมอยู่ด้วย 8. แร่ใยหินมีระยะเวลาการดำเนินโรคนานมาก กล่าวคือ หลังจากที่ได้รับ/สัมผัสสารกว่าจะพัฒนาจนเกิดโรคได้ ใช้เวลานานถึง 50 ปีหรือมากกว่านั้น และการตรวจวินิจฉัยก็ยากลำบาก เนื่องจากมีโรคจากเหตุอื่นหลายโรคที่มีอาการและแนวทางการวินิจฉัยคล้ายๆกัน(โรคที่อาการคล้ายคลึงกัน) โรคจากแร่ใยหินรักษายาก (เนื่องจากพยาธิสภาพที่เสียหายของอวัยวะที่สำคัญไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นปกติได้) ผู้ป่วยส่วนใหญ่รักษาไม่หายและส่วนใหญ่จะเสียชีวิต 9. องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) และรักษาการประธานกลุ่มศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าการได้รับ/สัมผัสแร่ใยหินไม่มีระดับใดที่จัดได้ว่าปลอดภัย 10. แร่ไยหินได้มีการผลิตและนำมาใช้อย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์ วัสดุ และการประยุกต์ใช้ต่างๆ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็รวมถึง การก่อสร้าง วัสดุฉนวนความร้อน ในท่าจอดเรือ และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมาก
รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สสส. บอกว่า การควบคุมแร่ใยหินที่เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนและนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยจะประสานเครือข่ายภาคประชาชนทั้ง 76 จังหวัดให้ตรวจสอบการจัดทำฉลากสินค้าของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินของผู้ประกอบธุรกิจ และรายงานให้ สคบ.ทราบ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมี 7 จังหวัดได้นำร่องเดินหน้าตรวจสอบจัดการอันตรายจากแร่ใยหินและมีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ แม้ร้านค้าหลายพื้นที่จะมีปฏิกิริยาตอบกลับอย่างไม่พอใจว่ารัฐบาลยังไม่มีการให้ข้อมูลว่าวัสดุที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินจะนำมาสู่การเสียชีวิตและเกิดโรคปอดอักเสบ จึงต้องเร่งให้ความรู้
ซึ่ง จังหวัดศรีษะเกษ ได้มีการศึกษาแร่ใยหินโดยมีการจัดการสัมมนาเพื่อบอกถึงอันตรายจากแร่ใยหินขึ้นมา 3 ครั้ง ซึ่งการจัดครั้งแรกเป็นการให้ความรู้และหาผู้นำในการแนะนำบอกต่ออันตรายของแร่ใยหิน และมีการพบเครือข่ายรุ่นที่ 2 รับร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดำเนินการรณรงค์ป้องกันยกเลิกนำเข้าผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ครั้งที่ 3 ปี 2553 ได้จัดกิจกรรมคณะละครหุ่นมือศรีมงคล ในการสื่อถึงการเผยแร่อันตรายแร่ใยหิน มีกลไกระดับชุมชน ตำบล ประชุมค้นหานวัตกรรมรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภค จัดโครงการ กิจกรรม การสื่อสาร เนื่องจากประชาชนยังไม่รู้ถึงอันตรายของแร่ใยหินและยังไม่รู้ว่าแร่ใยหินนี้คืออะไรจากการที่นำเสนอละครหุ่นมือ ประชาชนได้รับรู้ถึงอันตรายแร่ใยหินและมีความตระหนักในการป้องกันมากขึ้น
ส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้มีการขับเคลื่อนโดยการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนพร้อมจัดทำโปสเตอร์แจกในโรงเรียน การจัดรายการวิทยุ มีการให้ความรู้เรื่องแร่ใยหินแก่ประชาชนผ่านสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย และมีการสำรวจร้านค้าวัสดุก่อสร้างจำนวน 16ร้านค้า มีจำนวน 4 ร้านค้าไม่มีแร่ใยหิน แต่มีถึง 9 ร้านค้ามีแร่ใยหิน ส่วนอีก 3 ร้านค้ามีการปะปนกันซึ่งมีและไม่มีแร่ใยหิน จึงได้มีการให้ความรู้ประชาชนตระหนักถึงอันตราย และจากการสำรวจการรื้อถอนอาคารพบว่ามีผู้ป่วยจากการสัมผัสฝุ่นละอองมากขึ้นสาเหตุไม่อยากใส่หน้ากาก และถุงมือ ในขณะที่จังหวัดมหาสารคามได้มีการสำรวจแนวโน้มการขาย และผู้สัมผัสแร่ใยหินจนพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการผลิตเครื่องกรองน้ำไฟเบอร์ที่มีส่วนผสมของแอสเบสตอส พร้อมทั้งมีการสำรวจช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ ที่ใช้เครื่องเป่าฝุ่นเกิดการหายใจติดขัด ตรวจพบว่าฝุ่นเกาะในปอดมากเกินไป เกิดปอดแห้ง
ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดนครราชสีมา มีการเชิญชวนนักเรียนเข้าร่วมรณรงค์ พร้อมทั้งมีการจัดอบรมให้ความรู้กับแกนนำนักเรียน5โรงเรียน โดยมีการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยการทำ อย.น้อยในโรงเรียน และมีการออกแบบกิจกรรมชุมชน มีอาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมรณรงค์ด้วย และมีการจัดตั้งชมรม 17 ชมรม เพื่อจัดทำแผนรณรงค์ และมีการนำเสนอละครให้ความรู้เรื่องแร่ใยหิน มีการให้รับรู้ชีวิตการทำงานเพื่อเลี้ยงครอบครัว แต่ได้รับผลกระทบด้วยการเจ็บป่วยจากแร่ใยหิน ทางจังหวัดจึงพร้อมจะยกเลิกนำเข้า
ด้านจังหวัดเชียงราย มีการคุ้มครองผู้บริโภคแร่ใยหิน และจัดเวทีอบรมให้ความรู้สร้างความเข้าใจถึงอันตราย สอดแทรกเนื้อหาบอกถึงพิษ มีการลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ จากผลการดำเนินงานพบว่าผู้บริโภคเกิดความเข้าใจและตระหนักสิทธิ มีการป้องกันจากการสัมผัส และสุดท้ายจังหวัดตรังมีการจัดประชุมชี้แจงให้ความรู้รายละเอียดใน 10 อำเภอจำนวน 100 คน มีหน่วยงานราชการ มีผู้รับผิดชอบงานในระดับอำเภอ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ แต่ต้องประสบปัญหาผู้ประกอบการไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เนื่องจากมีความเข้าใจว่าระดับประเทศยังไม่มีการขับเคลื่อน แต่สุดท้ายก็เข้าใจจึงให้ความร่วมมือ พร้อมที่จะยกเลิกนำเข้า
ผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ทุกคนร่วมมือร่วมใจ ปกป้องสิทธิของตนการกระทำดังกล่าว จะกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ของผู้บริโภค!!!!!
/////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น